ข้ามไปเนื้อหา

เล็ก นานา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เล็ก นานา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ดำรงตำแหน่ง
28 สิงหาคม พ.ศ. 2528 – 5 สิงหาคม พ.ศ. 2529
นายกรัฐมนตรีพลเอกเปรม ติณสูลานนท์
ก่อนหน้าบัญญัติ บรรทัดฐาน (รักษาราชการ)
ถัดไปบัญญัติ บรรทัดฐาน
เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์
ดำรงตำแหน่ง
3 เมษายน พ.ศ. 2525 – 5 เมษายน พ.ศ. 2529
ก่อนหน้าศ.(พิเศษ) มารุต บุนนาค
ถัดไปวีระ มุสิกพงศ์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด18 มีนาคม พ.ศ. 2468
จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม
เสียชีวิต1 เมษายน พ.ศ. 2553 (85 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
ศาสนาอิสลาม
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2489–2553)
คู่สมรสยุพดี นานา
บุตรยุพ นานา

เล็ก นานา (18 มีนาคม พ.ศ. 2468 – 1 เมษายน พ.ศ. 2553) เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ คนที่ 9 อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร หลายสมัย

การเมือง

[แก้]

นายเล็ก นานา เข้าสู่วงการการเมืองโดยถือเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ในยุคก่อตั้ง ในสมัยที่มี นายควง อภัยวงศ์ เป็นหัวหน้าพรรค โดยเป็น ส.ส. กรุงเทพมหานคร หลายสมัย และเคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีในหลายกระทรวง

การดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี

[แก้]

นายเล็ก นานา ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช[1] แต่ยังมิได้เริ่มปฏิบัติงาน เนื่องจากไม่ได้รับความไว้วางใจจากสภาในการแถลงนโยบาย[2] ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ครั้งที่ 2 ในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช (ครม.37)[3] จนกระทั่งพ้นจากตำแหน่งเนื่องจากนายกรัฐมนตรีลาออก หลังจากรับตำแหน่งได้ 5 เดือน และได้รับแต่งตั้งอีกสมัยหนึ่ง[4] แต่ดำรงตำแหน่งเพียง 12 วัน และได้เข้าเฝ้าถวายสัตย์ปฏิญาณเพียงวันเดียวก็ต้องพ้นจากตำแหน่ง เนื่องจากการรัฐประหารของพลเรือเอก สงัด ชลออยู่ รวมระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ใน 3 คณะรัฐมนตรี เพียง 6 เดือนเศษ

ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน ในสมัยรัฐบาล พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ในวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2528 แทนนายดำรง ลัทธพิพัฒน์ รัฐมนตรีคนก่อนและอดีตเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเสียชีวิตจากการทำอัตตวินิบาตกรรม[5]

ชีวิตส่วนตัว

[แก้]

นายเล็ก นานา เป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งพรรคประชาธิปัตย์มาแต่แรกเริ่ม เป็นเจ้าของที่ดินหลายแห่งในกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่สมัยราคาที่ดิน ยังไม่แพงนัก และกรุงเทพมหานครยังไม่เจริญเหมือนปัจจุบัน และโดยได้รับสืบทอดมาจากบรรพบุรุษ[6] จนได้ฉายาในยุคนั้นว่า "ราชาที่ดินกรุงเทพ" จากการมีที่ดินมากในกรุงเทพมหานคร มีซอยหนึ่งในถนนสุขุมวิทตั้งชื่อซอยตามนามสกุลของนายเล็ก คือ ซอยนานา หรือ สุขุมวิทซอย 4 ซึ่งเป็นที่ตั้งของบริษัทธุรกิจประเภทต่าง ๆ มากมาย รวมถึงพื้นที่บริเวณนั้นก็ถูกเรียกว่า ย่านนานา นายเล็ก นานา เป็นเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ในสมัยที่นายพิชัย รัตตกุล เป็นหัวหน้าพรรค และได้ยกที่ดินส่วนตัว ในซอยเศรษฐศิริ เขตพญาไท ให้เป็นที่ทำการถาวรของพรรคประชาธิปัตย์มาจนถึงปัจจุบัน

นายเล็ก นานา เป็นชาวไทยเชื้อสายอินเดีย นับถือศาสนาอิสลามนิกายชีอะ โดยมีบรรพบุรุษมาจากอินเดีย ซึ่งต้นตระกูลนานา คือ อาลีสาย อะหะหมัด เทปาเดีย ซึ่งมีถิ่นกำเนิดที่เมืองแรนเดอร์ รัฐคุชราต ได้เข้ามาอาศัยและประกอบธุรกิจในประเทศไทยตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว[6][7]

นายเล็ก นานามีบุตร 2 คนและ ธิดา 1 คนโดย 1 ในบุตรของนายเล็ก นานาคือ นาย ยุพ นานา ได้เข้าสู่เส้นทางการเมืองเหมือนกันโดยเคยดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงแรงงานในสมัยรัฐบาล นาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะและ ที่ปรึกษารัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคนของมนุษย์ในสมัยรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา และเคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 25 โดยเป็นสมาชิกไม่ถึงหนึ่งเดือน

ถึงแก่อนิจกรรม

[แก้]

นายเล็ก นานา ได้ถึงแก่กรรม เมื่อเวลา 02.41 น. ของวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2553 ด้วยโรคหัวใจ ที่โรงพยาบาลปิยะเวท สิริอายุได้ 85 ปี [8]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๐ ราย)
  2. คอลัมน์ส่วนร่วมสังคมไทย โดน นรนิติ เศรษฐบุตร หน้า 8 หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับที่ 22,506 ประจำวันศุกร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
  3. "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน 35 ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2012-07-26.
  4. "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๓ ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2015-06-30.
  5. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (นายเล็ก นานา)
  6. 6.0 6.1 โพธิ์ศรีทอง, ประภัสสร (2015-06-09). "ชุมชนอินเดียย่านตึกแดงตึกขาว : ประวัติศาสตร์การค้าผ่านภาพถ่ายเก่า". ไทยทรีบูนดอตโออาร์จี. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-19. สืบค้นเมื่อ 2018-04-02.
  7. Dubey, Tung Nath, India and Thailand: A Brief History, H.K. Publishers and Distributors, 1990, p. 76
  8. เล็ก นานา ผู้ร่วมก่อตั้งพรรค ปชป.เสียชีวิตแล้ว[ลิงก์เสีย]จากโพสต์ ทูเดย์
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๑๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖, ๒๗ มกราคม ๒๕๒๙
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๙ ข หน้า ๒, ๑๖ ธันวาคม ๒๕๔๐
  11. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-07-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๐ ตอนที่ ๒๐๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๘๐๕, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๒๖
ก่อนหน้า เล็ก นานา ถัดไป
บัญญัติ บรรทัดฐาน
(รักษาการ)

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน
(28 สิงหาคม พ.ศ. 2528 – 5 สิงหาคม พ.ศ. 2529)
บัญญัติ บรรทัดฐาน