พระยาอภิบาลราชไมตรี (ต่อม บุนนาค)
พระยาอภิบาลราชไมตรี (ต่อม บุนนาค) | |
---|---|
รองประธานวุฒิสภา | |
ดำรงตำแหน่ง 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 – 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491 ดำรงตำแหน่งร่วมกับ พระยาสีหราชเดโชไชย | |
ก่อนหน้า | ไต๋ ปาณิกบุตร |
ถัดไป | พระยาโกมารกุลมนตรี |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ | |
ดำรงตำแหน่ง 1 กันยายน พ.ศ. 2476 – 22 กันยายน พ.ศ. 2477 | |
นายกรัฐมนตรี | พระยาพหลพลพยุหเสนา |
ก่อนหน้า | พระยาศรีวิสารวาจา |
ถัดไป | พระยาพหลพลพยุหเสนา |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 7 มีนาคม พ.ศ. 2427 |
เสียชีวิต | 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2504 (77 ปี) |
คู่สมรส | คุณหญิง สน บุนนาค คุณหญิง รื่น บุนนาค |
บุพการี |
|
มหาอำมาตย์ตรี พระยาอภิบาลราชไมตรี[1] มีนามเดิมว่า ต่อม บุนนาค อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ คนที่ 3 และอดีตเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา
พระยาอภิบาลราชไมตรี เป็นบุตรพลโท เจ้าพระยาสุรวงศ์วัฒนศักดิ์ (โต บุนนาค) กับคุณใหญ่ (สกุลเดิม โอสถานนท์) [2] เริ่มรับราชการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงการต่างประเทศ (29 มิถุนายน พ.ศ. 2475 - 1 กันยายน พ.ศ. 2476)[3] ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (พ.ศ. 2476-2477) [4] จากนั้นไปดำรงตำแหน่งอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา ระหว่าง พ.ศ. 2478-2483 [5] และเอกอัครราชทูต ณ กรุงนานกิง สาธารณรัฐจีน
พระยาอภิบาลราชไมตรี ได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา และดำรงตำแหน่งรองประธานวุฒิสภาคนที่ 1 เมื่อ พ.ศ. 2490
พระยาอภิบาลราชไมตรี สมรสกับคุณหญิง สน บุนนาค (สกุลเดิม แสง-ชูโต) มีบุตรชื่อตุล บุนนาค (เป็นบิดาของนายเตช บุนนาค และคุณติ๋ว บุนนาค) และมีบุตรีกับคุณหญิง รื่น บุนนาคธิดาพระยาจำนงดิฐการ (เทพ บุนนาค) ชื่อรมดีเตรุ บุนนาค (สมรสกับนายพิชัย วาศนาส่ง) [6][2]
การศึกษา โรงเรียนอัสสัมชัญ บางรัก (อสช 2054)
ยศและตำแหน่ง
[แก้]ยศในราชสำนัก
[แก้]- – จ่า
- – รองหัวหมื่น
- 20 มิถุนายน 2462 – หัวหมื่น[7]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2478 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
- พ.ศ. 2477 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)
- พ.ศ. ไม่ปรากฎ – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายหน้า)
- พ.ศ. 2459 – เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ร.ด.ม.(ศ))[8]
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 1 (ว.ป.ร.1)
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 4 (ป.ป.ร.4)
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 8 ชั้นที่ 2 (อ.ป.ร.2)
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 1 (ภ.ป.ร.1)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ รายวันพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์
- ↑ 2.0 2.1 ชมรมสายสกุลบุนนาค
- ↑ http://www.bunnag.in.th/prarajpannuang070.html
- ↑ "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 4 ของไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-16. สืบค้นเมื่อ 2008-08-02.
- ↑ "List of Ambassadors of Thailand to the United States of America". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-08-02. สืบค้นเมื่อ 2008-08-02.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-13. สืบค้นเมื่อ 2008-08-02.
- ↑ ประกาศกรมบัญชาการกลางมหาดเล็ก
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-02-10. สืบค้นเมื่อ 2020-01-15.