จารุบุตร เรืองสุวรรณ
จารุบุตร เรืองสุวรรณ | |
---|---|
ประธานรัฐสภาไทย และ ประธานวุฒิสภา | |
ดำรงตำแหน่ง 26 เมษายน พ.ศ. 2526 – 19 มีนาคม พ.ศ. 2527 (0 ปี 327 วัน) | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
นายกรัฐมนตรี | พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ |
ก่อนหน้า | พลอากาศเอก หะริน หงสกุล |
ถัดไป | อุกฤษ มงคลนาวิน |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 15 มิถุนายน พ.ศ. 2463 อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 19 มีนาคม พ.ศ. 2527 (63 ปี) ประเทศไทย |
ศาสนา | พุทธ |
คู่สมรส | อรนุช เรืองสุวรรณ |
ลายมือชื่อ | |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
ประจำการ | พ.ศ. 2488 – 2489 |
ยศ | ร้อยโท |
บังคับบัญชา | กองทัพบกสหราชอาณาจักร เสรีไทย |
ผ่านศึก | สงครามโลกครั้งที่สอง |
ร้อยโท จารุบุตร เรืองสุวรรณ (15 มิถุนายน พ.ศ. 2463 — 19 มีนาคม พ.ศ. 2527) อดีตประธานวุฒิสภา อดีตประธานรัฐสภา และ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดขอนแก่น 5 สมัย เป็นบิดาของนายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และเขาเป็นประธานรัฐสภา คนที่ 2 ที่ถึงแก่อสัญกรรมในขนะดำรงตำแหน่งประธานรัฐสภา
ประวัติ
[แก้]ร้อยโท จารุบุตร เรืองสุวรรณ เกิดเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2463 เป็นบุตรของนายเจริญ และ นางเอี่ยม เรืองสุวรรณ น้ำหนัก 91 กิโลกรัม สูง 172 เซนติเมตร[1] สำเร็จการศึกษา ปริญญาตรี ธรรมศาสตรบัณฑิต และ ปริญญาโท เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต จาก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง สมรสกับนางอรนุช เรืองสุวรรณ มีบุตร-ธิดา 2 คน คือ นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และ นางจารุวรรณ ปฐมธนพงศ์
ร้อยโท จารุบุตร เรืองสุวรรณมีพี่น้อง 6 คน ได้แก่ จารุมุกด์ เรืองสุวรรณ จารุพิฑูรย์ เรืองสุวรรณ จารุอุดม เรืองสุวรรณ ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี[2] ด.ญ. จารุมณี เรืองสุวรรณ[1] จารุอรรถ เรืองสุวรรณ และ พล.อ.ดร.จารุภัทร เรืองสุวรรณ
การศึกษา
[แก้]ในปี พ.ศ. 2480 จารุบุตร เรืองสุวรรณ จบมัธยมศึกษาปีที่ 8 ที่โรงเรียนอุดรพิทยานุกูล จบปริญญาตรีตรี ธรรมศาสตร์บัณฑิต เนติบัณฑิตไทย ในปี พ.ศ. 2485 ปริญญาโทเศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยลัยธรรมศาสตร์ และในปี พ.ศ. 2488 จบโรงเรียนนายทหารอังกฤษหน่วยคอมมานโด[1]
การทำงาน
[แก้]งานในอดีต
[แก้]จารุบุตร เรืองสุวรรณ เป็นครูหลายโรงเรียน ได้แก่ ในปี พ.ศ. 2481 เป็นครูประชาบาลโรงเรียนวัดโพธิสมภรณ์ จังหวัดอุดรธานี ปลายปีเป็นครูเทศบาล พ.ศ. 2482 เป็นครูโรงเรียนราษฎร์ สงเคราะห์นิยม จังหวัดขอนแก่น ในปี พ.ศ. 2483 จารุบุตร เรืองสุวรรณ ได้สมัครสอบวิชาครู พป. ซึ่งได้อันดับหนึ่งทั่วประเทศ จึงได้รับการคัดเลือกให้บรรจุเป็นครูโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และในปี พ.ศ. 2484 จนถึงปี พ.ศ. 2485 เป็นครูโรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัย[1]
งานเสรีไทย
[แก้]ในปี พ.ศ. 2488 ร้อยโท จารุบุตร เรืองสุวรรณเป็นสมาชิกขบวนการเสรีไทย ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง สังกัดหน่วย 136 กองทัพที่ 14 กองทัพบกอังกฤษ[1] ต้นปี พ.ศ. 2489 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าหน้าที่ประจำคณะกรรมการอาชญากรสงคราม ได้รับพระราชทานยศชั่วคราวเป็นร้อยโท ทำหน้าที่ นายหารติดต่อกับกองทัพฝ่ายสัมพันธิตร เพื่อปลดอาวุธทหารญี่ปุ่น[1]
งานการเมือง
[แก้]จารุบุตร เรืองสุวรรณ ลงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2489 เคยดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าพรรคเสรีประชาธิปไตย[3] ในระหว่างปี พ.ศ. 2511 จนถึงปี พ.ศ. 2514 ร้อยโท จารุบุตร เรืองสุวรรณ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดขอนแก่นมาแล้ว 5 สมัยและได้รับคะแนนเสียงอย่างท่วมท้นคือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป สิงหาคม พ.ศ. 2489 จังหวัดขอนแก่น
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2492 จังหวัดขอนแก่น
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2495 จังหวัดขอนแก่น
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป ธันวาคม พ.ศ. 2500 จังหวัดขอนแก่น สังกัดพรรคเสรีประชาธิปไตย[4]
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2519 จังหวัดขอนแก่น สังกัดพรรคธรรมสังคม
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2526 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[5]
- พ.ศ. 2525 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[6]
- พ.ศ. 2508 – เหรียญสนองเสรีชน (ส.ส.ช.)
- พ.ศ. 2513 – เหรียญกาชาดสรรเสริญ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 หนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ ฯพณฯ จารุบุตร เรืองสุวรรณ
- ↑ ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจดทะเบียนพรรคการเมือง ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 81 ตอน 5 ง หน้า 115 21 มกราคม พ.ศ. 2512
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไป พ.ศ. ๒๕๐๐ ครั้งที่ ๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-06-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๐ ตอนที่ ๒๐๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๒, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๒๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๙ ตอนที่ ๑๘๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๗, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๒๕
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2463
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2527
- บุคคลจากอำเภอภูเวียง
- ครูชาวไทย
- ทหารบกชาวไทย
- ประธานรัฐสภาไทย
- ประธานวุฒิสภาไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดขอนแก่น
- สมาชิกวุฒิสภาไทยแบบแต่งตั้ง
- พรรคแนวรัฐธรรมนูญ
- พรรคเสรีประชาธิปไตย (ประเทศไทย)
- พรรคเกษตรสังคม
- พรรคธรรมสังคม
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- บุคคลจากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- บุคคลจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
- สมาชิกขบวนการเสรีไทย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- บุคคลในประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์
- สกุลเรืองสุวรรณ
- หัวหน้าพรรคการเมืองในประเทศไทย
- ชาวไทยในสงครามโลกครั้งที่สอง
- บุคคลจากโรงเรียนสารคามพิทยาคม