ศุภชัย สมเจริญ
หน้าตา
ศุภชัย สมเจริญ | |
---|---|
รองประธานวุฒิสภา | |
ดำรงตำแหน่ง 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 – 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 (5 ปี 43 วัน) ดำรงตำแหน่งร่วมกับ พลเอก สิงห์ศึก สิงห์ไพร | |
ก่อนหน้า | พีระศักดิ์ พอจิต |
ถัดไป | บุญส่ง น้อยโสภณ |
สมาชิกวุฒิสภา | |
ดำรงตำแหน่ง 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 – 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 (5 ปี 60 วัน) | |
ประธานกรรมการการเลือกตั้ง | |
ดำรงตำแหน่ง 13 ธันวาคม พ.ศ. 2556 – 15 สิงหาคม พ.ศ. 2561 (4 ปี 245 วัน) | |
ก่อนหน้า | อภิชาต สุขัคคานนท์ |
ถัดไป | อิทธิพร บุญประคอง |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2492 เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
ศุภชัย สมเจริญ (เกิด 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2492) อดีต รองประธานวุฒิสภาไทย คนที่ 2 และสมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 12 อดีตผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา อดีตประธานศาลอุทธรณ์ ภาค 1 และอดีตประธานกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) รับผิดชอบด้านกิจการบริหารกลาง[1]
ประวัติการศึกษา
[แก้]- นิติศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- เนติบัณฑิตไทย สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา
- รัฐศาสตรมหาบัณฑิต บริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต การบริหารกระบวนการยุติธรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ รัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
- นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ วิทยาลัยทองสุข
- ปริญญาบัตรการป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 45
- วุฒิบัตร บ.ย.ส. รุ่นที่ 10, ประกาศนียบัตร วตท.รุ่นที่ 5, ป.ป.ร. รุ่นที่ 14[2]
- ปริญญาเอกปรัชญาดุษฎีบัณฑิต จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์สาขาบริหารกระบวนการยุติธรรม[3]โดยได้รับทุนการศึกษาจากสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ
รางวัล
[แก้]- พ.ศ. 2561 รางวัล “เกียรติภูมินิติโดม” ในฐานะศิษย์เก่าดีเด่น คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ประสบการณ์และผลงาน
[แก้]- หัวหน้าแผนกวิชาการกฎหมาย กองกับการ 2
- กองอำนวยการศึกษา กองบัญชาการศึกษา กรมตำรวจ
- ผู้ช่วยผู้พิพากษา
- ผู้พิพากษาศาลจังหวัดอุตรดิตถ์
- ผู้พิพากษาศาลแขวงพระนครใต้ ศาลแขวงพระนครเหนือ
- ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดภูเขียว ศาลจังหวัดสีคิ้ว
- ศาลจังหวัดระยอง ผู้พิพากษาศาลแพ่ง ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแขวงธนบุรี
- ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอาญาธนบุรี
- ผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
- รองอธิบดีผู้พิพากษาภาค 4 และภาค 2
- ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ภาค 8 และภาค 4
- ประธานแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในศาลอุทธรณ์ภาค 4
- ผู้พิพากษาศาลฎีกา
- ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา
- ประธานศาลอุทธรณ์ภาค 1
- ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา คณะที่ 1 ทำหน้าที่ประธานคดีปกครอง
- กรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิในชั้นศาลฎีกาและชั้นศาลอุทธรณ์
- กรรมการข้าราชการศาลยุติธรรมในชั้นศาลฎีกา[2]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2542 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[4]
- พ.ศ. 2537 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[5]
- พ.ศ. 2539 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[6]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ คอลัมน์ คนตามข่าว เรื่องรู้จักเขายัง... "ศุภชัย สมเจริญ" ประธาน กกต.ป้ายแดง โดย ดุษฎี สนเทศ จากเว็บไซต์หนังสือพิมพ์มติชน ประจำวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2556 เวลา 10:06:41 น. สืบค้นวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2557
- ↑ 2.0 2.1 คอลัมภ์เปิดปูม “5 เสือ กกต.” ชุดใหม่ จากเว็บไซต์สำนักข่าวอิศรา สืบค้นวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2557
- ↑ “ส.ว.สมชาย” โพสต์ตื้นตัน สำเร็จปริญญาเอกปรัชญาดุษฎีบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ ขอนำความรู้ ทำงานตอบแทนชาติ-ปชช.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๕, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2007-01-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๑๐, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๔๑๙, ๒๕ ธันวาคม ๒๕๓๙
หมวดหมู่:
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2492
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์
- ข้าราชการฝ่ายตุลาการชาวไทย
- รองประธานวุฒิสภาไทย
- สมาชิกวุฒิสภาไทยแบบแต่งตั้ง
- ประธานกรรมการการเลือกตั้ง
- กรรมการการเลือกตั้งไทย
- บุคคลจากโรงเรียนทวีธาภิเศก
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- บุคคลจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- บุคคลจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.