พระยาโทณวณิกมนตรี (วิสุทธิ์ โทณวณิก)
พระยาโทณวณิกมนตรี (วิสุทธิ์ โทณวณิก) | |
---|---|
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | |
ดำรงตำแหน่ง 15 เมษายน พ.ศ. 2491 – 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2491 | |
ก่อนหน้า | พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชย |
ถัดไป | พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชย |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | พ.ศ. 2438 |
เสียชีวิต | พ.ศ. 2507 |
ศาสนา | พุทธ |
ลายมือชื่อ | |
อำมาตย์เอก พระยาโทณวณิกมนตรี (วิสุทธิ์ โทณวณิก) เป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในรัฐบาลจอมพล แปลก พิบูลสงคราม และเป็นผู้ก่อตั้งธนาคารศรีนคร
ประวัติ
[แก้]พระยาโทณวณิกมนตรี (วิสุทธิ์ โทณวณิก) จบการศึกษาจากโรงเรียน ภ.ป.ร. ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เคยรับราชการในสังกัดกระทรวงพาณิชย์ พ.ศ. 2474 มีตำแหน่งเป็นเลขานุการสภาเผยแพร่พาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์[1] พ.ศ. 2475 ได้ย้ายมารับตำแหน่งนายทะเบียนสหกรณ์ สังกัดกระทรวงสหกรณ์[2]
พระยาโทณวณิกมนตรี ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเมื่อพ.ศ. 2491 ในรัฐบาลจอมพล แปลก พิบูลสงคราม และพ้นจากตำแหน่งไปเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2491[3] นอกจากนี้ยังเคยได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาในวุฒิสภาไทย ชุดที่ 2[4]
ในปี พ.ศ. 2493 พระยาโทณวณิกมนตรี ได้ร่วมกับคณะบุคคลก่อตั้งธนาคารสิงขร (ต่อมาคือ ธนาคารศรีนคร) เพื่อให้บริการรับฝากเงิน มีทุนจดทะเบียน 10 ล้านบาท
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2500 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[5]
- พ.ศ. 2494 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)
- พ.ศ. 2472 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ข้อมูลข้าราชการ ๒๔๗๔
- ↑ ทำเนียบนายทะเบียนสหกรณ์
- ↑ "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 21 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-04. สืบค้นเมื่อ 2015-05-15.
- ↑ "วุฒิสภา ชุดที่ ๒ (สมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๔๘๙)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2015-05-15.
- ↑ "แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-02-25. สืบค้นเมื่อ 2018-01-08.
- ↑ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าฝ่ายหน้าและฝ่ายใน (หน้า ๒๙๓๔)