มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ
Thailand National Sports University | |
ตราพระพลบดีทรงช้างเอราวัณ สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย | |
ชื่ออื่น | มกช. / TNSU |
---|---|
ชื่อเดิม | วิทยาลัยพลศึกษา สถาบันพลศึกษา |
ประเภท | สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ |
สถาปนา | 1 มกราคม พ.ศ. 2498 |
ผู้สถาปนา | กรมพลศึกษา |
สถาบันหลัก | กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา |
สังกัดการศึกษา | 13
|
สังกัดวิชาการ | |
งบประมาณ | 1,979,914,300 บาท (พ.ศ. 2568)[1] |
อธิการบดีมหาวิทยาลัย | วิษณุ ไล่ชะพิษ (ปฏิบัติหน้าที่) |
ประธานคณะบุคคลฯ | พลตำรวจเอก สุนทร ซ้ายขวัญ |
บุคลากรทั้งหมด | 2,693 คน (พ.ศ. 2566) |
ผู้ศึกษา | 11,520 คน (พ.ศ. 2566)[2] |
ที่ตั้ง | |
วิทยาเขต | |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย |
มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ (อังกฤษ: Thailand National Sports University, อักษรย่อ มกช. – TNSU) เป็นสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ สังกัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เดิมชื่อ สถาบันการพลศึกษา ทำหน้าที่ผลิตครู โดยเฉพาะครูสอนพลศึกษาและสุขศึกษา แต่ปัจจุบันได้เพิ่มบทบาทในการผลิตบุคลากรด้านวิชาชีพ ด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา และสุขภาพเพิ่มขึ้น ตั้งอยู่เลขที่ 333 หมู่ 1 ถนนสุขุมวิท ตำบลหนองไม้แดง อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี 20000
ประวัติ
[แก้]ในอดีต กรมพลศึกษา เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ดำเนินการผลิตครูพลศึกษา โดยรับโอนโรงเรียนพลศึกษากลาง มาดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2479 และได้มีการจัดตั้ง “วิทยาลัยพลศึกษา” ขึ้นเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2498 เพื่อดำเนินการสอนในระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง (ป.กศ.สูง) และตั้ง “โรงเรียนฝึกหัดครูพลานามัย” ขึ้นในปีการศึกษา 2501 เพื่อดำเนินการสอนในระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา (ป.กศ.)
ต่อมาได้ยุบเลิกโรงเรียนฝึกหัดครูพลานามัย ในปี พ.ศ. 2512 และได้ขยายหลักสูตรของวิทยาลัยพลศึกษาเป็นระดับปริญญาตรี โดยเป็นส่วนหนึ่งของวิทยาลัยวิชาการศึกษา แต่ยังคงดำเนินการโดยกรมพลศึกษา และใช้ชื่อว่า “วิทยาลัยวิชาการศึกษาพลศึกษา” ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น “มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตพลศึกษา หรือ มศว พลศึกษา” และในปี พ.ศ. 2514 ได้ยุติการดำเนินการวิทยาลัยพลศึกษาในส่วนกลางและโอนวิทยาลัยวิชาการศึกษาพลศึกษา ไปให้วิทยาลัยวิชาการศึกษาดำเนินการต่อไป กรมพลศึกษาได้เปิดดำเนินการผลิตครูพลศึกษาในส่วนภูมิภาค โดยเริ่มเปิด “วิทยาลัยพลศึกษาจังหวัดเชียงใหม่” ขึ้นเป็นแห่งแรก ต่อมาในปี พ.ศ. 2515 เปิด “วิทยาลัยพลศึกษาจังหวัดมหาสารคาม” และมีการเปิดเพิ่มขึ้นในจังหวัดต่างๆ เรื่อยมา จนกระทั่งมีวิทยาลัยพลศึกษารวม 17 แห่ง
เมื่อกระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายบรรจุข้าราชการครูจากผู้ที่มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี กรมพลศึกษาจึงหาแนวทางยกฐานะวิทยาลัยพลศึกษาให้สามารถเปิดทำการสอนในระดับปริญญาตรี โดยในระยะแรกได้จัดทำโครงการร่วมมือทางวิชาการกับกรมการฝึกหัดครู เป็นสถาบันสมทบของวิทยาลัยครู เพื่อเปิดสอนระดับปริญญาตรีหลักสูตรต่อเนื่อง ตั้งแต่ปีการศึกษา 2531 ในขณะเดียวกันก็มีแนวทางที่จะเปิดดำเนินการสอนระดับปริญญาตรีด้วยตนเอง จนได้มีการร่างพระราชบัญญัติเพื่อยกฐานะวิทยาลัยพลศึกษาขึ้นเป็นสถาบันการศึกษาระดับปริญญา ในปี พ.ศ. 2538 และใช้ชื่อ “ร่างพระราชบัญญัติสถาบันกาญจนมงคล พ.ศ. ...”
กรมพลศึกษา ได้เสนอร่างพระราชบัญญัติสถาบันกาญจนมงคลตามลำดับ พร้อมกับที่กรมอาชีวศึกษาได้เสนอร่างพระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน และกรมศิลปากรได้เสนอร่างพระราชบัญญัติสถาบันพัฒนศิลป์ ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้ให้ความเห็นชอบในร่างพระราชบัญญัติทั้ง 3 ฉบับ แต่เนื่องจากสาเหตุบางประการกรมพลศึกษาได้นำร่างพระราชบัญญัติสถาบันกาญจนมงคลกลับมาพิจารณาทบทวนใหม่อีกครั้งหนึ่ง เป็นเหตุให้ไม่สามารถนำเข้าสู่ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรได้ทันเวลา เนื่องจากสภาผู้แทนราษฎรหมดอายุลง จึงต้องนำร่างพระราชบัญญัติสถาบันกาญจนมงคล มาเริ่มดำเนินการตามขั้นตอนใหม่อีกครั้งหนึ่งภายหลังจากที่มีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่แล้ว
การดำเนินการเพื่อยกฐานะดังกล่าว ได้ดำเนินเรื่อยมากระทั่งสภาผู้แทนราษฎรได้ส่งร่างพระราชบัญญัติสถาบันการพลศึกษา ไปยังสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อทูลเกล้าฯ ถวาย พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงลงพระปรมาภิไธย เมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2548 และประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา ตอนที่ 13 ก เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 จึงนับได้ว่าสถาบันการพลศึกษาได้ก่อกำเนิดขึ้นอย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548
พ.ศ. 2562 สถาบันการพลศึกษาเปลี่ยนแปลงสภาพองค์กรเป็นมหาเป็นมหาวิทยาลัยตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ พ.ศ. 2562[3]
สัญลักษณ์ประจำสถาบัน
[แก้]-
เครื่องหมายประจำสถาบัน ประกอบเครื่องแบบนักศึกษา -
ตราสัญลักษณ์ในยุคสถาบันการพลศึกษา -
พระพลบดีทรงช้างเอราวัณ
สัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัย
- ตราสัญลักษณ์ประจำสถาบัน
คือ ภาพพระพลบดีทรงช้างเอราวัณอยู่เหนือกลีบเมฆ หัตถ์ซ้ายทรงพระขรรค์ หัตถ์ขวาทรงตรี ตอนล่างเป็นข้อความภาษาไทยระบุชื่อ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ
- เครื่องหมายประจำสถาบัน ประกอบเครื่องแบบนักศึกษา
เครื่องหมายสำหรับนักศึกษาหญิง คือ เครื่องหมายสัญลักษณ์สามห่วง สีเขียว ขาว เหลือง ภายในเป็นพระพลบดี ทรงช้างเอราวัณอยู่เหนือกลีบเมฆ ตอนล่างเป็นชื่อของมหาวิทยาลัย สำหรับติดหน้าอกเสื้อเครื่องแบบนักศึกษาหญิง ด้านซ้าย
เครื่องหมายสำหรับนักศึกษาชาย คือ ตอนบนเป็นรูปพระพลบดีทรงช้างเอราวัณ อยู่เหนือกลีบเมฆ ตอนล่างเป็นชื่อของมหาวิทยาลัย สำหรับติดเนคไท
- สีประจำมหาวิทยาลัย
สีเขียว
สีขาว
สีเหลือง
คณะและหลักสูตร
[แก้]- หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
- สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา
- โปรแกรมวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา
- โปรแกรมวิชาการฝึกสอนกีฬา
- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
- โปรแกรมวิชาการส่งเสริมสุขภาพ
- โปรแกรมวิชาการส่งเสริมสุขภาพเด็ก
- โปรแกรมวิชาการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ
- สาขานันทนาการ
- โปรแกรมวิชานันทนาการบำบัด
- สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา
- หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต
- สาขาสื่อสารเทคโนโลยี
- โปรแกรมวิชาสื่อสารการกีฬา (หลักสูตรปกติและต่อเนื่อง)
- สาขาวิชาธุรกิจ
- โปรแกรมวิชาธุรกิจสุขภาพ
- โปรแกรมวิชาการจัดการกีฬา
- สาขาวิชานันทนาการ
- โปรแกรมวิชาผู้นำนันทนาการ
- โปรแกรมวิชาการบริหารนันทนาการ
- โปรแกรมวิชานันทนาการเชิงพาณิชย์และการท่องเที่ยว
- สาขาสื่อสารเทคโนโลยี
- หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต (ปัจจุบันหลักสูตร 4 ปี)
- สาขาวิชาพลศึกษา
- โปรแกรมวิชาพลศึกษา (หลักสูตรปกติและต่อเนื่อง)
- โปรแกรมวิชาพลศึกษาสำหรับคนพิการ (หลักสูตรปกติและต่อเนื่อง)
- สาขาวิชาสุขศึกษา
- โปรแกรมวิชาสุขศึกษา (หลักสูตรปกติและต่อเนื่อง)
- สาขาวิชานันทนาการ
- โปรแกรมวิชานันทนาการ
- สาขาวิชาพลศึกษา
วิทยาเขต
[แก้]
มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติประจำภาคเหนือ[แก้]มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติประจำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ[แก้] |
มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติประจำภาคกลาง[แก้]มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติประจำภาคใต้[แก้]
|
โรงเรียน
[แก้]
โรงเรียนกีฬาประจำภาคเหนือ[แก้]โรงเรียนกีฬาประจำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ[แก้] |
โรงเรียนกีฬาประจำภาคกลาง[แก้]
โรงเรียนกีฬาประจำภาคใต้[แก้]
|
กีฬาสถาบันการพลศึกษาแห่งประเทศไทย
[แก้]ประวัติการแข่งขันกีฬาสถาบันการพลศึกษาแห่งประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2518–ปัจจุบัน มีดังนี้[4]
ครั้งที่ | ประจำปี | เจ้าภาพ | พิธีเปิด | พิธีปิด | สถิติ | ||
---|---|---|---|---|---|---|---|
นักกีฬา | ชนิดกีฬา | ||||||
1 | 2518 | จังหวัดมหาสารคาม | 4 | ||||
2 | 2519 | จังหวัดเชียงใหม่ | 6 | ||||
3 | 2520 | กรุงเทพมหานคร | 7 | ||||
4 | 2521 | งดการแข่งขัน เนื่องจากประเทศไทยเป็นเจ้าภาพกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 8 | |||||
5 | 2522 | จังหวัดอุดรธานี | 9 | ||||
6 | 2523 | กรุงเทพมหานคร | 9 | ||||
7 | 2524 | กรุงเทพมหานคร | 11 | ||||
8 | 2525 | กรุงเทพมหานคร | 11 | ||||
9 | 2526 | จังหวัดลำปาง | 11 | ||||
10 | 2527 | กรุงเทพมหานคร | 15 | ||||
11 | 2528 | จังหวัดอุดรธานี | 15 | ||||
12 | 2529 | กรุงเทพมหานคร | 2 ธันวาคม | 9 ธันวาคม | 2,500 | 16 | |
13 | 2530 | กรุงเทพมหานคร | 2 ธันวาคม | 9 ธันวาคม | 1,760 | 16 | |
14 | 2531 | กรุงเทพมหานคร | 1 ธันวาคม | 9 ธันวาคม | 1,760 | 13 | |
15 | 2532 | กรุงเทพมหานคร | 1 ธันวาคม | 10 ธันวาคม | 1,800 | 18 | |
16 | 2533 | กรุงเทพมหานคร | 1 ธันวาคม | 10 ธันวาคม | 2,570 | 19 | |
35 | 2553 | จังหวัดตรัง | 19 กรกฎาคม | 28 กรกฎาคม | 32 | ||
36 | 2554 | จังหวัดเชียงใหม่ | 5 สิงหาคม | 14 สิงหาคม | 34 | ||
37 | 2555 | จังหวัดอุดรธานี | 21 กรกฎาคม | 30 กรกฎาคม | 37 | ||
38 | 2556 | จังหวัดชุมพร | 19 กรกฎาคม | 28 กรกฎาคม | 39 | ||
39 | 2557 | จังหวัดศรีสะเกษ | 19 กรกฎาคม | 28 กรกฎาคม | 39 | ||
40 | 2558 | จังหวัดลำปาง | 21 สิงหาคม | 30 สิงหาคม | 42 | ||
41 | 2559 | จังหวัดศรีสะเกษ | 31 สิงหาคม | 9 กันยายน | 42 | ||
42 | 2560 | จังหวัดสุพรรณบุรี | 1 กันยายน | 10 กันยายน | 42 | ||
43 | 2561 | จังหวัดมหาสารคาม | 6 กันยายน | 15 กันยายน | 42 | ||
44 | 2562 | จังหวัดเชียงใหม่ | 3 กันยายน | 12 กันยายน | 42 | ||
- | 2563-64 | ยกเลิกการแข่งขัน เนื่องจากการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในประเทศไทย และการระบาดทั่วโลกของโควิด-19 | |||||
45 | 2565 | จังหวัดตรัง | 3 กันยายน | 7 กันยายน | 13 | ||
46 | 2566 | จังหวัดอ่างทอง | 2 กันยายน | 11 กันยายน |
รายนามอธิการบดี
[แก้]สถาบันการพลศึกษา | |
รายนามอธิการบดี | วาระการดำรงตำแหน่ง |
---|---|
1. นายสมพงษ์ ชาตะวิถี | 2 กันยายน พ.ศ. 2548[5] - 1 กันยายน พ.ศ. 2552 17 กันยายน พ.ศ. 2552 - 16 กันยายน พ.ศ. 2556 |
2. ดร.ปริวัฒน์ วรรณกลาง | 4 ตุลาคม พ.ศ. 2556 - 3 ตุลาคม พ.ศ. 2560 4 ตุลาคม พ.ศ. 2560 - 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 |
มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ | |
รายนามอธิการบดี | วาระการดำรงตำแหน่ง |
3. ดร.ปริวัฒน์ วรรณกลาง | 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 - 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 |
วิษณุ ไล่ชะพิษ (ปฏิบัติหน้าที่)[6] | 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 - ปัจจุบัน |
รายนามนายกสภาสถาบัน
[แก้]สถาบันการพลศึกษา | |
รายนามนายกสภา | วาระการดำรงตำแหน่ง |
---|---|
1. สมศักดิ์ เทพสุทิน | 2 กันยายน พ.ศ. 2548 - 1 กันยายน พ.ศ. 2550 2 กันยายน พ.ศ. 2550 - 1 กันยายน พ.ศ. 2552 |
2. บรรหาร ศิลปอาชา | 17 กันยายน พ.ศ. 2552 - 16 กันยายน พ.ศ. 2554 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 |
3. วิษณุ เครืองาม | 8 ธันวาคม พ.ศ. 2558 - ? |
มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ | |
รายนามนายกสภา | วาระการดำรงตำแหน่ง |
4. พลตำรวจเอก สุนทร ซ้ายขวัญ (คณะบุคคลปฏิบัติหน้าที่) | 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 - ปัจจุบัน |
การพระราชทานปริญญาบัตร
[แก้]มหาวิทยาลัยการกิฬาแห่งชาติ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เสด็จแทนพระองค์ ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาของมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติครั้งแรก (ประจำปีการศึกษา 2548-2551) ภายใต้นามสถาบันการพลศึกษาในขณะนั้น เมื่อวันพุธที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร ลานพระบรมรูปทรงม้า พระราชวังดุสิต ถนนอู่ทองใน แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร
บุคคลจากมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติที่มีชื่อเสียง
[แก้]- ด้านพระบรมวงศานุวงศ์
- พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์ (เสด็จสวรรคตแล้ว)
- พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 10) ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์
- สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์
- ด้านวงการบันเทิง
- ไพโรจน์ ใจสิงห์ นักแสดง
- คมกฤษณ์ ดวงสุวรรณ์ อดีตนักกีฬายิงธนูทีมชาติไทยและเป็นนักแสดงสังกัดช่อง 7 เอชดี สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีคณะคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตสุโขทัย
- ทัชชกร ยีรัมย์ นักแสดง, สตันท์แมน, ผู้กำกับภาพยนตร์, ผู้บริหาร,นักร้อง
- พันนา ฤทธิไกร อดีตนักแสดง, ผู้กำกับ, นักเขียนบท, นักออกแบบท่าต่อสู้
- สิทธิพร นิยม เป็นนักแสดง นักร้อง นักเขียน นักการเมืองชาวไทย
- สมจิตร จงจอหอ อดีตนักกีฬามวยสากลสมัครเล่นชาวไทย ปัจจุบันรับราชการเป็นทหารบก ยศพันโท สังกัดกองบัญชาการกองทัพไทย อีกทั้งยังเป็นนักแสดง และพิธีกร
- ด้านกีฬา
- กิตตินนท์ นามขุนทด นักกีฬาวอลเลย์บอลชายทีมชาติไทย
- นาวาโทหญิงเกษราภรณ์ สุตา อดีตนักกีฬายกน้ำหนักหญิงทีมชาติไทย ปัจจุบันรับราชการเป็นทหารเรือ
- เขียวหวาน ยนตรกิจ อดีตนักกีฬานักมวยไทยชาวไทยและรับราชการเป็นทหารบก ยศพันเอก
- จตุภูมิ ชินวงศ์ นักยกน้ำหนักชาวไทย
- ฉัตร์ชัย บุตรดี อดีตนักมวยสากลสมัครเล่นทีมชาติไทย ปัจจุบันรับราชการเป็นทหารบก ยศจ่าสิบตรี
- ดนัย ศรีวัชรเมธากุล อดีตนักวอลเลย์บอลระดับอาชีพชาวไทย และเป็นผู้ฝึกสอนให้แก่ทีมวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย
- เด่นชัย เทพนา นักกีฬายิงธนูทีมชาติไทย และรับราชการเป็นทหารเรือ ยศพันจ่าเอ
- ธีรวัฒน์ หอมกลิ่น นักกีฬายูโดชาวไทย และรับราชการเป็นทหารบก
- พิทยา ตีบนอก เป็นนักกีฬายกน้ำหนักทีมชาติไทย
- ฮิคิพีเดีย เป็นนักกีฬาทหารบก ยศสิบเอก
- วันเฮง มีนะโา ทำว่อง นักกีฬายิงธนูทีมชาติไทย และรับราชการเป็นทหารเรือ ยศจ่าเอก
- วุฒิชัย มาสุข เป็นนักมวยสากลสมัครเล่นทีมชาติไทย และรับราชการเป็นทหารอากาศ ยศจ่าอากาศโท
- สราญสุข เป็นนักกีฬาวอลเลย์บอลชายทีมชาติไทย ตำแหน่งมือเซต ปัจจุบันเล่นให้กับชลบุรี-อี.เทค-แอร์ฟอร์ซ
- สุพรรณษา ทองนุ่ม อดีตเป็นนักนักกีฬาแฮนด์บอลทีมชาติไทยชุดซีเกมส์ 2019 ที่ประเทศฟิลิปปินส์ และชุดโอลิมปิกฤดูร้อน 2020ที่ประเทศญี่ปุ่น ตำแหน่งผู้รักษาประตู สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีคณะคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตสุพรรณบุรี
- สายลม อาดี อดีตเป็นนักสังกัดสโมสรกองทัพอากาศ (ท.อ.) และติดทีมชาติไปแข่งขันกีฬาซีเกมส์ เอเชียนเกมส์ และโอลิมปิกเกมส์ ปัจจุบันรับราชการเป็นทหารอากาศ ยศจ่าอากาศเอก
- แสน ส.เพลินจิต อดีตนักกีฬามวยสากลอาชีพ
- โสภิตา ธนสาร เป็นนักกีฬายกน้ำหนักหญิงทีมชาติไทย
- สุดาพร สีสอนดี นักกีฬามวยสากลสมัครเล่นทหารเรือ ยศเรือตรี
- ปานเพชร ผดุงชัยมวยไทยยิม อดีตเป็นนักกีฬามวยไทย และเป็นนักกีฬาคิกบ็อกซิงทีมชาติไทย ชุดซีเกมส์ 2019 ที่ประเทศฟิลิปปินส์
- ด้านบุคคลากรทางการศึกษา
- จรัสเดช อุลิต เป็นผู้ทรงคุณวุฒิมวยไทย จากกรมส่งเคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
- สมศักดิ์ ศิษย์ชัชวาลย์ อดีตนักกีฬามวยสากลอาชีพ ปัจจุบันรับราชการเป็นอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตเชียงใหม่
- ผศ.ดร.อนันต์ เมฆสวรรค์ ศิษย์เก่าสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตอ่างทอง ผู้เชี่ยวชาญกีฬามวยไทยและเทควันโด กรมพลศึกษา และประธานฝ่ายเทคนิคการแข่งขันเทควันโดเยาวชน, รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ ประจำวิทยาเขตชัยภูมิชุมพร
- ด้านวงการพิธีกร
- วีรศักดิ์ นิลกลัด ผู้ประกาศข่าว, นักพากย์กีฬา, กรรมการประจำรายการกิ๊กดู๋
- อุฬารกุล ร่วมบุญ (แกะ ถอดรหัส) เป็นพิธีกรรายการโทรทัศน์
ดูเพิ่ม
[แก้]- กีฬาโรงเรียนกีฬาแห่งประเทศไทย
- กีฬามหาวิทยาลัยกีฬาแห่งประเทศไทย
- กีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย
- กีฬานักเรียนนักศึกษาแห่งประเทศไทย
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๑๔, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗
- ↑ สถิติอุดมศึกษา กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
- ↑ "พ.ร.บ. มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๒" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-06-08. สืบค้นเมื่อ 2020-06-08.
- ↑ "ประวัติการจัดการแข่งขันกีฬาสถาบันการพลศึกษาแห่งประเทศไทย". สถาบันการพลศึกษา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-23. สืบค้นเมื่อ 2017-09-12.
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีสถาบันการพลศึกษา (นายสมพงษ์ ชาตะวิถี)
- ↑ ตั้ง "วิษณุ" รองผู้ว่ากกท. นั่งรักษาการอธิการบดีม.การกีฬาแห่งชาติ
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- สถาบันการพลศึกษา เก็บถาวร 2020-09-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
- สถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย
- สถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดกระบี่
- สถาบันอุดมศึกษาในกรุงเทพมหานคร
- สถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดชลบุรี
- สถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดชุมพร
- สถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่
- สถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดอ่างทอง
- สถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดชัยภูมิ
- สถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดตรัง
- สถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดยะลา
- สถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดลำปาง
- สถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดสมุทรสาคร
- สถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดสุโขทัย
- สถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดสุพรรณบุรี
- มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ
- องค์การที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2548
- ส่วนราชการระดับกรมในประเทศไทย