ข้ามไปเนื้อหา

ศาสนาในประเทศคูเวต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ศาสนาในประเทศคูเวตตามเชื้อชาติ (1 มกราคม ค.ศ. 2023)[1]
มุสลิม คูเวต
  
99.97%
ไม่ใช่คูเวต
  
63.02%
คริสต์ คูเวต
  
0.01%
ไม่ใช่คูเวต
  
26.08%
ฮินดูและอื่น ๆ คูเวต
  
0%
ไม่ใช่คูเวต
  
10.88%

ศาสนาในประเทศคูเวต (รวมพลเมือง, 31 ธันวาคม ค.ศ. 2020)[1]

  อิสลาม (74.6%)
  คริสต์ (18.2%)
  อื่น ๆ (7.2%)

ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติในประเทศคูเวต และพลเมืองส่วนใหญ่เป็นมุสลิม[2]

นอกจากนี้ยังมีประชากรที่นับถือศาสนาคริสต์และบาไฮขนาดเล็กด้วย[3] [4] ชาวต่างชาติในคูเวตส่วนใหญ่เป็นมุสลิม, ฮินดู, คริสต์ หรือพุทธ[2]

อิสลาม

[แก้]

ศาสนาประจำชาติของคูเวตคือศาสนาอิสลามนิกายซุนนี มัซฮับมาลิกี พลเมืองคูเวตที่นับศาสนาอิสลามส่วนใหญ่นับถือนิกายซุนนี ส่วนนิกายชีอะฮ์เป็นชนกลุ่มน้อยที่สำคัญ นอกจากนี้ยังมีนิกายอื่น ๆ แต่มีจำนวนน้อยมากในคูเวตด้วย[2] ราชวงศ์อาล เศาะบาห์ (รวมเอมีร์) นับถือนิกายซุนนีมัซฮับมาลิกี

มุสลิมที่ไม่ใช่พลเมืองมากกว่าหนึ่งล้านคนอาศัยอยู่ในประเทศคูเวตเมื่อ ค.ศ. 2019[1]

ประมาณการประชากร

[แก้]

คริสต์

[แก้]
Our Lady of Arabia Parish ที่อัลอะห์มะดี

ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาชนกลุ่มนน้อยในประเทศคูเวต โดยใน ค.ศ. 2020 มีชาวคูเวตที่นับถือศาสนาคริสต์ประมาณ 289 คนอาศัยอยู่ในประเทศ[3]

บาไฮ

[แก้]

สำมะโนทางการ ค.ศ. 2013 ระบุหมวดหมู่ศาสนาเพียง 3 ประเภท: "มุสลิม", "คริสต์" และ "อื่น ๆ" โดยมีเพียง 18 คนที่อยู่ในหมวดอื่น ๆ[3] มีพลเมืองคูเวตจำนวนน้อยที่นับถือศาสนาบาไฮ โดยข้อมูลหนึ่งระบุว่ามีผู้นับถือศาสนาบาไฮในคูเวตที่ประมาณ 400 คนใน ค.ศ. 2022[2]

ยูดาห์

[แก้]

ก่อนคริสต์ทศวรรษ 1950 เคยมีครอบครัวชาวคูเวตเชื้อสายยิวอาศัยอยู่ อย่างไรก็ตาม ครอบครัวชาวยิวท้องถิ่นทั้งหมดออกจากคูเวตในคริสต์ทศวรรษ 1980[4]

ซิกข์

[แก้]

มีชาวซิกข์ที่ไม่ใช่พลเมืองในคูเวตประมาณ 10,000 คน[4]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 "PACI Statistics". Kuwait Public Authority for Civil Information. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-13. สืบค้นเมื่อ 1 February 2019.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 "US State Dept 2022 report on International Religious Freedom in Kuwait". US State Department. 2022.
  3. 3.0 3.1 3.2 "Nationality By Religion and Nationality". Government of Kuwait (ภาษาอาหรับ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-08-14. สืบค้นเมื่อ 2024-10-28.
  4. 4.0 4.1 4.2 "International Religious Freedom Report for 2007". US State Department. 2007.