ศาสนาในประเทศอินเดีย
ศาสนาในประเทศอินเดีย มีความหลากหลายทั้งในศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ และการปฏิบัติ โดยทางการแล้วประเทศอินเดียเป็นรัฐฆราวาส (secular state) และไม่มีศาสนาประจำชาติ อนุทวีปอินเดียเป็นแหล่งกำเนิดของศาสนาที่สำคัญของโลกสี่ศาสนา ได้แก่ ศาสนาฮินดู, ศาสนาไชนะ, ศาสนาพุทธ และศาสนาซิกข์ ข้อมูลจากสำมะโนประชากรปี 2011 ระบุว่าประชากรอินเดีย 75.5% นับถือศาสนาฮินดู, 14.2% นับถือศาสนาอิสลาม, 2.3% นับถือศาสนาคริสต์, 1.7% นับถือศาสนาซิกข์, 5.0% นับถือศาสนาพุทธ นับจำนวนชาวพุทธโดยมหาโพธิสมาคมทั้งที่เปิดเผยและไม่เปิดเผย, 0.37% นับถือศาสนาไชนะ ทั้งศาสนาโซโรอัสเตอร์, Sanamahism และ ศาสนายูดาย ล้วนมีประวัติศาสตร์เก่าแก่ในประเทศอินเดีย และมีผู้นับถืออยู่ศาสนาละหลายพันคน ประเทศอินเดียมีประชากรที่นับถือศาสนาโซโรอัสเตอร์มากที่สุดในโลก (ทั้ง ปาร์ซี (parsi) และ อิรานี (irani)) และยังมีประชากรที่นับถือศาสนาบาไฮมากที่สุดในโลกเช่นกัน[1] ถึงแม้ทั้งสองศาสนานี้จะเติบโตขึ้นในแถบเปอร์เซียก็ตาม ตลอดทั้งประวัติศาสตร์ของประเทศอินเดีย ศาสนาเป็นส่วนสำคัญของวัฒนธรรมมาตลอด ความหลากหลายทางศาสนาและการยอมรับความต่างทางศาสนา (Religious toleration) ล้วนปรากฏในประเทศทั้งในทางกฎหมายและทางธรรมเนียมปฏิบัติ ในรัฐธรรมนูญอินเดียได้รับรองเสรีภาพทางศาสนาให้เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนอินเดีย[2]
ในปัจจุบัน ศาสนิกชนของศาสนาฮินดูทั้งประเทศอินเดียมีคิดเป็น 94% [3] ของประชากรฮินดูทั้งโลก ศาสนสถานฮินดูส่วนมากก็ตั้งอยู่ในประเทศอินเดียเช่นกัน ในฐานะที่ประเทศอินเดียเป็นแหล่งกำเนิดของเทพเจ้าองค์ต่าง ๆ เมืองปรยาคราช (รู้จักกันในชื่อเดิมคือ อลาหาบาด) เป็นที่ตั้งของสถานที่แสวงบุญฮินดูที่ใหญ่ที่สุดในโลก คือ ปรยาคกุมภเมลา (Prayag Kumbh Mela) ที่ซึ่งชาวฮินดูจากทั่วโลกหลั่งไหลเข้ามาเพื่ออาบน้ำศักดิ์สิทธิ์ตรงจุดที่แม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ทั้งสามสายของฮินดูไหลมาบรรจบกัน คือ แม่น้ำคงคา, แม่น้ำยมุนา และแม่น้ำสรัสวตี ชาวอินเดียโพ้นทะเลจำนวนมากในโลกตะวันตกได้นำปรัชญาฮินดูต่าง ๆ ไปเผยแพร่และสร้างความนิยมให้เกิดขึ้น เช่น การปฏิบัติโยคะ, การนั่งสมาธิ, การแพทย์แบบอายุรเวท (Ayurvedic Medicine), ดวงชะตา (divination), กรรม และการเวียนว่ายตายเกิด[4] องค์กรต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อเผยแผ่ศาสนาฮินดูได้นำคำสอนของฮินดูเผยแผ่ไปทั่วโลก ทั้ง สมาคมกฤษณภาวนามฤตนานาชาติ หรือ หเรกฤษณะ, พรหมกุมารี (Brahma Kumari), อานันทมรรค (Ananda Marga) และองค์กรอื่น ๆ เป็นต้น อนุทวีปอินเดียยังมีประชากรมุสลิมมากที่สุดในโลก หนึ่งในสามของมุสลิมในโลกเป็นชาวอินเดียใต้[5][6][7] มีการคาดการณ์ไว้ว่าในปี 2050 ประชากรมุสลิมในประเทศอินเดียจะโตขึ้นถึง 311 ล้านคน นำหน้าประเทศอินโดนีเซียขึ้นเป็นประเทศที่มีประชากรมุสลิมมากที่สุดในโลก ถึงแม้ว่าจะยังคงเป็นประเทศที่มีประชากรฮินดูเป็นหลักอยู่ก็ตาม (อยู่ที่ประมาณ 77%)[8][9]
ประชากร
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Smith, Peter (2008). An introduction to the Baha'i faith. Cambridge University Press. p. 94. ISBN 978-0-521-86251-6.
- ↑ Basu, Durga Das (2013). Introduction to the Constitution of India (21 ed.). LexisNexis. p. 124. ISBN 978-81-803-8918-4.
- ↑ Samirah Majumdar, "5 Facts About Religion in India", Pew Research Center, June 29, 2018
- ↑ P. 225 Essential Hinduism By Steven Rosen
- ↑ Pechilis, Karen; Raj, SelvJanuary 2013. South Asian Religions: Tradition and Today (ภาษาอังกฤษ). Routledge. ISBN 9780415448512.
- ↑ "10 Countries With the Largest Muslim Populations, 2010 and 2050". Pew Research Center's Religion & Public Life Project. 2 April 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-02-07. สืบค้นเมื่อ 7 February 2017.
- ↑ Diplomat, Akhilesh Pillalamarri, The. "How South Asia Will Save Global Islam". The Diplomat (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 7 February 2017.
- ↑ "5 facts about religion in India". Pew Research Center. June 29, 2018. สืบค้นเมื่อ February 15, 2019.
- ↑ "India to have world's largest Muslim population by 2050". Khaleej Times. March 5, 2017. สืบค้นเมื่อ February 15, 2019.
- ↑ "India has 79.8% Hindus, 14.2% Muslims, says 2011 census data on religion". Firstpost. 26 August 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-04-26. สืบค้นเมื่อ 14 August 2016.