ศาสนาในประเทศอิหร่าน
ศาสนาในประเทศอิหร่าน อ้างอิงตามข้อมูลจากซีไอเอเวิลด์แฟกต์บุ๊ก ระบุว่าประชากรส่วนใหญ่ของประเทศอิหร่านนับถือศาสนาอิสลามนิกายชีอะฮ์ร้อยละ 90-95[1] ถือเป็นศาสนาประจำชาติ ที่เหลือนับถือศาสนาอิสลามนิกายซุนนีและลัทธิศูฟีอีกร้อยละ 5-10 และศาสนาที่ไม่ใช่อิสลาม ได้แก่ ศาสนาบาไฮ ศาสนามันดา ศาสนายาร์ซาน ศาสนาโซโรอัสเตอร์ ศาสนายูดาห์ และศาสนาคริสต์ รวมกันมีร้อยละ 0.6[2] ส่วนการสำรวจสำมะโนครัวประชากรอิหร่านเมื่อ พ.ศ. 2554 พบว่าประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม 74,682,938 คน คิดเป็นร้อยละ 99.4 ศาสนาอื่น ๆ ได้แก่ ศาสนาคริสต์ 117,704 คน ศาสนาโซโรอัสเตอร์ 25,271 คน ศาสนายูดาห์ 8,756 คน และศาสนาอื่น ๆ 49,101 คน รวมทั้งหมดร้อยละ 0.3 และไม่ระบุ 205,317 คน คิดเป็นร้อยละ 0.3[3] ทั้งนี้มีศาสนาชนกลุ่มน้อยเพียงสามศาสนาที่ได้รับการยอมรับและการคุ้มครองจากสมัชชาที่ปรึกษาอิสลาม (Islamic Consultative Assembly) ได้แก่ ศาสนาโซโรอัสเตอร์ ศาสนายูดาห์ และศาสนาคริสต์[4]
ศาสนาโซโรอัสเตอร์เป็นศาสนาพื้นเมืองของอิหร่านที่เคยรุ่งเรืองและแพร่หลายไปทั่ว แต่ปัจจุบันหลงเหลือศาสนิกชนเรือนหมื่นเท่านั้น[5] นอกจากนี้อิหร่านยังเป็นชุมชนยิวที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลกอิสลามและตะวันออกกลาง[6] ส่วนศาสนาที่ไม่ใช่อิสลามที่มีศาสนิกชนมากสุดคือศาสนาบาไฮและศาสนาคริสต์[7] ทั้งนี้ศาสนาบาไฮเป็นศาสนาชนกลุ่มน้อยที่มีศาสนิกชนมากที่สุด[8] ทว่าทางการอิหร่านไม่ยอมรับ และกระทำการข่มเหงคะเนงร้ายต่อผู้นับถือบาไฮเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน[9][10][11][12]
รัฐบาลอิหร่านไม่ยอมรับการดำรงอยู่ของคนไม่นับถือศาสนา ผู้บูชาภูตผี ผู้ไม่เชื่อในพระเจ้า ผู้มีแนวคิดอไญยนิยม และผู้ออกจากศาสนาอิสลาม ในการสำรวจสำมะโนครัวประชากร ชนเหล่านี้คนเหล่านี้จะถูกรวมในกลุ่มมุสลิมซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ในประเทศ[1] จำเดิมอิหร่านนับถือศาสนาอิสลามนิกายซุนนีอย่างแพร่หลาย แต่หลังการพิชิตดินแดนโดยชาวมองโกล นิกายชีอะฮ์กลับกลายเป็นนิกายที่ชนส่วนใหญ่นับถือ แพร่หลายทั่วไปในดินแดนอิหร่าน (รวมไปถึงประเทศอาเซอร์ไบจานในปัจจุบัน ซึ่งเป็นรัฐโลกวิสัยเต็มที่) พร้อมกับการถือกำเนิดของราชวงศ์ซาฟาวิด[13]
จากการสำรวจของสำนักวิจัยพิวเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2562 พบว่าชาวอิหร่านร้อยละ 87 สวดภาวนาทุกวัน ถือเป็นอัตราที่สูงสุดเป็นอันดับสองของทวีปเอเชียรองจากประเทศอัฟกานิสถาน (ร้อยละ 96) และนำหน้าประเทศอินโดนีเซีย (ร้อยละ 84)[14]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Iran, CIA – World Factbook เก็บถาวร 2008-04-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. บทความนี้รวมเอางานสาธารณสมบัติจากเดอะเวิลด์แฟกต์บุ๊ก
- ↑ U.S. Central Intelligence Agency (2008-04-15). "CIA – The World Factbook – Iran". U.S. Central Intelligence Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-04-15. สืบค้นเมื่อ 2008-04-18.
- ↑ Iran Census Results 2011 United Nations
- ↑ Colin Brock, Lila Zia Levers. Aspects of Education in the Middle East and Africa Symposium Books Ltd, 7 mei 2007 ISBN 1873927215 p 99
- ↑ U.S. State Department (2009-10-26). "Iran – International Religious Freedom Report 2009". The Office of Electronic Information, Bureau of Public Affairs. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-29. สืบค้นเมื่อ 2009-12-01.
- ↑ https://www.jewishvirtuallibrary.org/jsource/Judaism/jewpop.html (10,200 vs 17,400 in Turkey)
- ↑ "2013 Report on International Religious Freedom: Iran". United States Department of State. 2014-07-28. สืบค้นเมื่อ 2017-11-03.
- ↑ Kavian Milani (2012). "Baha'i Discourses on the Constitutional Revolution". ใน Dominic Parviz Brookshaw, Seena B. Fazel (บ.ก.). The Baha'is of Iran: Socio-Historical Studies.
- ↑ United Nations (2005-11-02) Human rights questions: human rights situations and reports of special rapporteurs and representatives เก็บถาวร 2006-11-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน General Assembly, Sixtieth session, Third Committee. A/C.3/60/L.45
- ↑ Akhavi, Shahrough (1980). Religion and Politics in Contemporary Iran: clergy-state relations in the Pahlavi period. Albany, New York: SUNY Press. ISBN 0-87395-408-4.
- ↑ Tavakoli-Targhi, Mohamed (2001). "Anti-Bahá'ísm and Islamism in Iran, 1941–1955". Iran-Nameh. 19 (1): 79–124.
- ↑ Great Britain: Parliament: House of Commons: Foreign Affairs Committee (23 February 2006). Human Rights Annual Report 2005: First Report of Session 2005–06; Report, Together with Formal Minutes, Oral and Written Evidence. The Stationery Office. p. 85. ISBN 978-0-215-02759-7.
- ↑ Fensham, F. Charles, "The books of Ezra and Nehemiah" (Eerdmans, 1982) p.1
- ↑ Jeff Diamant (1 May 2019), "With high levels of prayer, U.S. is an outlier among wealthy nations", Pew Research Center. Retrieved 9 May 2019.