ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คารม พลพรกลาง"
Poompong1986 (คุย | ส่วนร่วม) |
ไม่มีความย่อการแก้ไข ป้ายระบุ: แก้ไขด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยเว็บอุปกรณ์เคลื่อนที่ |
||
บรรทัด 1: | บรรทัด 1: | ||
{{ผู้นำประเทศ |
{{ผู้นำประเทศ |
||
| name = คารม พลพรกลาง |
| name = คารม พลพรกลาง |
||
| honorific_suffix = [[ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก|ท.ช.]], [[ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย|ท.ม.]] |
|||
| honorific_suffix = {{post-nominals|country=THA|size=100%|ทช|ทม}} |
|||
| image = |
| image = |
||
| imagesize = 200px |
| imagesize = 200px |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 04:06, 21 พฤศจิกายน 2566
คารม พลพรกลาง | |
---|---|
รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 26 กันยายน พ.ศ. 2566 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 7 กันยายน พ.ศ. 2506 อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ภูมิใจไทย (2565–ปัจจุบัน) |
การเข้าร่วม พรรคการเมืองอื่น | อนาคตใหม่ (2561–2563) ก้าวไกล (2563–2565) |
คมรม พลพรกลาง ท.ช. ท.ม. เป็นรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน สังกัดพรรคภูมิใจไทย เคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคอนาคตใหม่ และพรรคก้าวไกล และเคยเป็นที่ปรึกษากฎหมาย นิตยสารเรดพาวเวอร์[1]
ประวัติ
คารม พลพรกลาง มีชื่อเล่นว่า ''อ๊อด'' เกิดเมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2506 จบการศึกษานิติศาสตรบัณฑิต จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เกิดและโต อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด
งานการเมือง
คารม เคยเป็นทนายความให้กับกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) และเป็นที่ปรึกษากฎหมายของนิตยสารเรดพาวเวอร์ ต่อมาได้เข้าร่วมงานการเมืองกับพรรคอนาคตใหม่ และลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จนได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมัยแรก ต่อมาเมื่อพรรคอนาคตใหม่ถูกยุบพรรค เขาได้ย้ายไปร่วมงานกับพรรคก้าวไกลพร้อมกับสมาชิกส่วนใหญ่
ต่อมาในการอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีไทย กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 ปรากฎชื่อนายคารม ลงมติไว้วางใจรัฐมนตรีจากพรรคภูมิใจไทย คือ อนุทิน ชาญวีรกูล และศักดิ์สยาม ชิดชอบ เขาให้เหตุผลว่า ทั้งสองคนชี้แจงข้อกล่าวหาของฝ่ายค้านได้อย่างละเอียด จากนั้น ก็ประกาศแยกทางกับพรรคก้าวไกล เพื่อย้ายไปสังกัดพรรคภูมิใจไทย แต่ถูกพรรคก้าวไกลปฏิเสธขับออกจากพรรค จนกลายเป็น “งูเห่าถูกดอง”[2]
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 คารมลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ด สังกัดพรรคภูมิใจไทย แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง[3] อย่างไรก็ตาม ในเดือนกันยายนของปีเดียวกัน เขาก็ได้รับแต่งตั้งเป็นรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในสัดส่วนของพรรคภูมิใจไทย[4]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคอนาคตใหม่ → พรรคก้าวไกล
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- พ.ศ. 2565 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[5]
- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)[6]
อ้างอิง
- ↑ ทนาย นปช.เปลี่ยนใจไม่ฟ้องผู้พิพากษาคดีก่อการร้าย
- ↑ ตั้ง “คารม พลพรกลาง” เป็นรองโฆษกรัฐบาล
- ↑ ผลการเลือกตั้ง2566 : ส.ส.งูเห่า อดีตสังกัด "อนาคตใหม่-ก้าวไกล" สอบตกระนาว
- ↑ ครม.ตั้ง “คารม พลพรกลาง” นั่งรองโฆษกรัฐบาล
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๕, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๔, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก และเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๑๖, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2506
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากอำเภอเมืองภูเก็ต
- ทนายความชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ
- แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ
- พรรคอนาคตใหม่
- พรรคก้าวไกล
- พรรคภูมิใจไทย
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.ม.