หลิว ฉือ
หลิว ฉือ | |
---|---|
劉寔 | |
เสนาบดีกลาโหม (太尉 ไท่เว่ย์) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 309 – ค.ศ. 307 | |
กษัตริย์ | จักรพรรดิจิ้นหฺวาย |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 304 | |
กษัตริย์ | จักรพรรดิจิ้นฮุ่ย |
ราชครู (太傅 ไท่ฟู่) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. ? – ค.ศ. 302 | |
กษัตริย์ | จักรพรรดิจิ้นฮุ่ย |
มหาองครักษ์ (太保 ไท่เป่า) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 301 – ค.ศ. ? | |
กษัตริย์ | จักรพรรดิจิ้นฮุ่ย |
เสนาบดีโยธาธิการ (司空 ซือคง) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 300 – ค.ศ. 301 | |
กษัตริย์ | จักรพรรดิจิ้นฮุ่ย |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | ค.ศ. 220 นครยฺหวี่เฉิง มณฑลชานตง |
เสียชีวิต | ค.ศ. 310 (90 ปี) |
คู่สมรส |
|
บุตร |
|
บุพการี |
|
ญาติ |
|
อาชีพ | ขุนนาง |
ชื่อรอง | จื่อเจิน (子真) |
สมัญญานาม | ยฺเหวียน (元) |
บรรดาศักดิ์ | สฺวินหยางโหว (循陽侯) |
หลิว ฉือ (จีน: 劉寔; พินอิน: Liú Shí; ค.ศ. 220-310) ชื่อรอง จื่อเจิน (จีน: 子真; พินอิน: Zǐzhēn) เป็นขุนนางของรัฐวุยก๊กในยุคสามก๊กของจีน ต่อมาเป็นขุนนางของราชวงศ์จิ้นตะวันตก
ประวัติ
[แก้]หลิว ฉือเป็นชาวอำเภอเกาถาง (高唐縣 เกาถางเซี่ยน) เมืองเปงหงวน (平原郡 ผิง-ยฺเหวียนจฺวิ้น) ซึ่งปัจจุบันอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของนครยฺหวี่เฉิง มณฑลชานตง[1] เป็นผู้สืบเชื้อสายรุ่นที่ 12 ของหลิว ปั๋ว (劉勃) ผู้เป็นอ๋องแห่งเจปัก (濟北王 จี้เป่ย์หวาง)[2] บิดาของหลิว ฉือคือหลิว กว่าง (劉廣) รับราชการเป็นนายอำเภอ (令 ลิ่ง) ของอำเภอชื่อชิว (斥丘縣 ชื่อชิวเซี่ยน)[3]
ในช่วงที่หลิว ฉืออยู่ในวัยเด็ก ครอบครัวของหลิว ฉือมีฐานะยากจนและใช้ชีวิตอย่างยากลำบาก จึงต้องขายวัวและเสื้อผ้าเพื่อยังชีพ[4] แต่หลิว ฉือก็ชอบศึกษาเรียนรู้อย่างมาก จึงมีความรอบรู้ทั้งในเรื่องสมัยโบราณและสมัยปัจจุบัน[5] ต่อมามณฑลและเมืองเสนอให้หลิว ฉือเข้ารับราชการ แต่หลิว ฉือปฏิเสธ[6] ภายหลังหลิว ฉือเดินทางมายังลกเอี๋ยง (洛陽 ลั่วหยาง) นครหลวงของวุยก๊กเพื่อรับราชการเป็นเจ้าหน้าที่บัญชี (計吏 จี้ลี่) ภายหลังได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยเจ้าเมืองโห้หล้ำ (河南尹丞 เหอหนานอิ่นเฉิง), เจ้าพนักงานสำนักราชเลขาธิการ (尚書郎 ช่างชูหลาง) และผู้พิพากษาในสังกัดเสนาบดีตุลาการ (廷尉正 ถิงเว่ย์เจิ้ง)[7] ต่อมาได้เลื่อนตำแหน่งเป็นเจ้าพนักงานกรมบุคลากร (吏部郎 ลี่ปู้หลาง) เข้าร่วมในราชการทหารของอัครมหาเสนาบดี (สุมาเจียว) และได้รับการตั้งให้มีบรรดาศักดิ์เป็นสฺวินหยางจื่อ (循陽子)[8]
หลังสุมาเอี๋ยนสถาปนาราชวงศ์จิ้นตะวันตกในปี ค.ศ. 265 หลิว ฉือได้รับการตั้งให้มีบรรดาศักดิ์เป็นสฺวินหยางปั๋ว (循陽伯) และเลื่อนเป็นเสนาบดีเจ้ากรมมหาดเล็ก (少府 เฉาฝู่)[9] ต่อมาได้ดำรงตำแหน่งเป็นเสนาบดีพิธีการ (太常 ไท่ฉาง) และราชเลขาธิการ (尚書 ช่างชู)[10]
ในปี ค.ศ. 279 จักรพรรดิสุมาเอี๋ยนทรงส่งทัพราชวงศ์จิ้นเพื่อทำศึกพิชิตง่อก๊กที่เป็นรัฐอริ หลิว ฉือได้รับการตั้งให้เป็นรักษาการตุลาการทัพพิทักษ์ภาคใต้ (鎮南軍司 เจิ้นหนานจฺวินซือ)[11] ภายหลังหลิว เซี่ย (劉夏) บุตรชายของหลิว ฉือถูกปลดจากราชการเพราะถูกจับได้ว่าติดสินบน ต่อมาไม่นานหลิว ฉือได้รับตำแหน่งเสนาบดีพระคลัง (大司農 ต้าซือหนง) แต่ถูกปลดจากตำแหน่งเพราะความผิดของหลิว เซี่ยบุตรชาย[12] ต่อมาหลิว ฉือได้รับการแต่งตั้งใหม่เป็นอธิการบดีวิทยาลัยหลวง (國子祭酒 กั๋วจื่อจี้จิ่ว) และนายทหารม้ามหาดเล็ก (散騎常侍 ซานฉีฉางชื่อ)[13] หลังซือหม่า ยฺวี่ (司馬遹) พระโอรสองค์โตของรัชทายาทซือหม่า จง (司馬衷) ได้รับการตั้งให้เป็นอ๋องแห่งกองเหลง (廣陵王 กว่างหลิงหวาง) หลิว ฉือได้รับเลือกให้เป็นอาจารย์ถวายการสอนแก่ซือหม่า ยฺวี่[14]
ในปี ค.ศ. 291 หลิว ฉือ ได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นสฺวินหยางโหว (循陽侯) ได้เลื่อนตำแหน่งเป็นมหาองครักษ์ประจำองค์รัชทายาท (太子太保 ไท่จื่อไท่เป่า) และได้รับตำแหน่งเพิ่มเติมเป็นขุนนางมหาดเล็ก (侍中 ชื่อจง) ได้รับยศพิเศษ (特進 เท่จิ้น) ได้รับตำแหน่งขุนนางที่ปรึกษาผู้ใหญ่ฝ่ายขวา (右光祿大夫 โย่วกวางลู่ต้าฟู), ไคฝู่อี๋ถงซานซือ (開府儀同三司; "ผู้ได้รับอำนาจเปิดสำนักว่าราชการเทียบเท่าสามมหาเสนาบดี") และแม่ทัพมณฑลกิจิ๋ว (冀州都督 จี้โจวตูตู)[15]
ในปี ค.ศ. 300 หลิว ฉือได้รับการแต่งตั้งเป็นเสนาบดีโยธาธิการ (司空 ซือคง) ต่อมาไม่นานก็ย้ายไปเป็นมหาองครักษ์ (太保 ไท่เป่า) และราชครู (太傅 ไท่ฟู่) ตามลำดับ[16]
ในปี ค.ศ. 302 หลิว ฉือลาออกจากตำแหน่งเพราะความชราและสุขภาพไม่ดี กลับมาพักผ่อนในจวนโดยยังคงบรรดาศักดิ์เดิม[17] แต่ในปีถัดมาได้เกิดสงครามกลางเมือง กำลังทหารของซือหม่า อ้าย (司馬乂) อ๋องแห่งเตียงสา (長沙王 ฉางชาหวาง) รบกับกำลังทหารพันธมิตรของซือหมา อิ่ง (司馬穎) อ๋องแห่งเซงโต๋ (成都王 เฉิงตูหวาง) และซือหม่า หยง (司馬顒) อ๋องแห่งโฮกั้น (河間王 เหอเจียนหวาง) ในนครหลวงลกเอี๋ยง ในระหว่างการรบมีทหารบุกเข้าปล้นจวนของหลิว ฉือ หลิวฉือจึงต้องกลับหนีกลับไปบ้านเกิดที่เมืองเปงหงวน[18]
ในปี ค.ศ. 304 หลิว ฉือได้รับการแต่งตั้งเป็นเสนาบดีกลาโหม (太尉 ไท่เว่ย์) แต่หลิว ฉือลาออกจากตำแหน่ง[19]
ในปี ค.ศ. 307 หลิว ฉือขอลาออกจากราชการเนื่องจากอายุมาก แต่ถูกปฏิเสธไม่ให้ลาออก และได้รับการแต่งตั้งเป็นเสนาบดีกลาโหม จนกระทั่งปี ค.ศ. 309 จึงได้รับอนุญาตให้ลาออกจากราชการ[20] หลิว ฉือเสียชีวิตในเวลาต่อมาอีกหนึ่งปีเศษ ขณะมีอายุ 91 ปี (ตามการนับอายุแบบเอเชียตะวันออก) ได้รับสมัญญานามว่า "ยฺเหวียน" (元)[21]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ (劉寔,字子真,平原高唐人也。) จิ้นชู เล่มที่ 41.
- ↑ 《元和姓纂四校记·卷五·364》:勃生崇,始居髙唐,十一代孫實字子真,晉太常循陽侯【A[岑校]生济北贞王勃 与汉表一四同。唯晋书四一刘寔传则云,汉济北惠王寿之后,殆误。】
- ↑ (漢濟北惠王壽之後也,父廣,斥丘令。) จิ้นชู เล่มที่ 41.
- ↑ (寔少貧苦,賣牛衣以自給。) จิ้นชู เล่มที่ 41.
- ↑ (然好學,手約繩,口誦書,博通古今。) จิ้นชู เล่มที่ 41.
- ↑ (郡察孝廉,州舉秀才,皆不行。) จิ้นชู เล่มที่ 41.
- ↑ (以計吏入洛,調為河南尹丞,遷尚書郎、廷尉正。) จิ้นชู เล่มที่ 41.
- ↑ (後曆吏部郎,參文帝相國軍事,封循陽子。) จิ้นชู เล่มที่ 41.
- ↑ (泰始初,進爵為伯,累遷少府。) จิ้นชู เล่มที่ 41.
- ↑ (咸甯中為太常。轉尚書。) จิ้นชู เล่มที่ 41.
- ↑ (杜預之伐吳也,寔以本官行鎮南軍司。) จิ้นชู เล่มที่ 41.
- ↑ (寔竟坐夏受賂,免官。頃之為大司農,又以夏罪免。) จิ้นชู เล่มที่ 41.
- ↑ (後起為國子祭酒、散騎常侍。) จิ้นชู เล่มที่ 41.
- ↑ (湣懷太子初封廣陵王,高選師友,以寔為師。) จิ้นชู เล่มที่ 41.
- ↑ (元康初,進爵為侯,累遷太子太保,加侍中、特進、右光祿大夫、開府儀同三司,領冀州都督。) จิ้นชู เล่มที่ 41.
- ↑ (九年,策拜司空,遷太保,轉太傅。。) จิ้นชู เล่มที่ 41.
- ↑ (太安初,寔以老病遜位,賜安車駟馬、錢百萬,以侯就第。) จิ้นชู เล่มที่ 41.
- ↑ (及長沙成都之相攻也,寔為軍人所掠,潛歸鄉里。) จิ้นชู เล่มที่ 41.
- ↑ (惠帝崩,寔赴山陵。懷帝即位,復授太尉。寔自陳年老,固辭,不許。) จิ้นชู เล่มที่ 41.
- ↑ (三年,詔曰:「昔虞任五臣,致垂拱之化,漢相蕭何,興寧一之譽,故能光隆於當時,垂裕於百代。朕紹天明命,臨御萬邦,所以崇顯政道者,亦賴之於元臣庶尹,畢力股肱,以副至望。而君年耆告老,確然難違。今聽君以侯就第,位居三司之上,秩祿准舊,賜几杖不朝及宅一區。國之大政,將就諮於君,副朕意焉。」) จิ้นชู เล่มที่ 41.
- ↑ (歲余薨,時年九十一,諡曰元。) จิ้นชู เล่มที่ 41.
บรรณานุกรม
[แก้]- ฝาง เสฺวียนหลิง (648). จิ้นชู.