สุมาเอี๋ยน
สุมาเอี๋ยน (ซือหม่า เหยียน) 司馬炎 จักรพรรดิจิ้นอู่ตี้ 晉武帝 | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
พระสาทิสลักษณ์ของจักรพรรดิสุมาเอี๋ยนในยุคราชวงศ์ถัง วาดโดยเหยียน ลี่เปิ่น | |||||||||||||
จักรพรรดิแห่งราชวงศ์จิ้น | |||||||||||||
ครองราชย์ | 8 กุมภาพันธ์ 266[a] – 16 พฤษภาคม ค.ศ. 290 | ||||||||||||
ถัดไป | จักรพรรดิจิ้นฮุ่ยตี้ | ||||||||||||
จีนอ๋อง / อ๋องแห่งจิ้น (晉王 จิ้นหวาง) | |||||||||||||
ดำรงตำแหน่ง | 7 กันยายน[1] ค.ศ. 265 – 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 266 | ||||||||||||
ก่อนหน้า | สุมาเจียว | ||||||||||||
ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แห่งวุยก๊ก | |||||||||||||
ดำรงตำแหน่ง | 7 กันยายน ค.ศ. 265 – 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 266 | ||||||||||||
ก่อนหน้า | สุมาเจียว | ||||||||||||
ประสูติ | ค.ศ. 236 | ||||||||||||
สวรรคต | 16 พฤษภาคม ค.ศ. 290 (53-54 พรรษา)[2] | ||||||||||||
พระมเหสี | หยาง เยี่ยน หยาง จื่อ หวาง เยฺวี่ยนจี | ||||||||||||
พระราชบุตร | จักรพรรดิจิ้นฮุ่ยตี้ ซือหมา เจี่ยน ซือหมา เหว่ย์ ซือหมา ยฺหวิ่น ซือหม่า เยี่ยน ซือหม่า เสีย ซือหม่า อี้ ซือหมา อิ่ง ซือหมา เหยี่ยน จักรพรรดิจิ้นหฺวายตี้ เจ้าหญิงฉางชาน เจ้าหญิงผิงหยาง เจ้าหญิงซินเฟิง เจ้าหญิงหยางผิง เจ้าหญิงอู่อาน เจ้าหญิงฝานชาง เจ้าหญิงเซียงเฉิง เจ้าหญิงสิงหยาง เจ้าหญิงสิงหยาง เจ้าหญิงอิ่งชฺวาน เจ้าหญิงกว่างผิง เจ้าหญิงหลิงโช่ว | ||||||||||||
| |||||||||||||
พระราชบิดา | สุมาเจียว | ||||||||||||
พระราชมารดา | หวาง ยฺเหวียนจี |
จักรพรรดิจิ้นอู่ตี้ (จีนตัวย่อ: 晋武帝; จีนตัวเต็ม: 晉武帝; พินอิน: Jìn Wǔ Dì; เวด-ไจลส์: Chin Wu-Ti) ชื่อตัว สุมาเอี๋ยน (ค.ศ. 263 - 16 พฤษภาคม ค.ศ. 290[b]) หรือในภาษาจีนกลางว่า ซือหม่า เหยียน (จีน: 司馬炎; พินอิน: Sīmǎ Yán) ชื่อรอง อานชื่อ (จีน: 安世; พินอิน: Ānshì) เป็นหลายปู่ของสุมาอี้ หลานลุงของสุมาสู และบุตรชายของสุมาเจียว สุมาเอี๋ยนขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิพระองค์แรกของราชวงศ์จิ้นหลังจากบังคับโจฮวนจักรพรรดิลำดับสุดท้ายของรัฐวุยก๊กให้สละราชบัลลังก์ให้พระองค์ พระองค์ครองราชย์ตั้งแต่ปี ค.ศ. 266 ถึง ค.ศ. 290 และหลังจากการพิชิตรัฐง่อก๊กในปี ค.ศ. 280 พระองค์ก็ทรงเป็นจักรพรรดิของจีนที่กลับมารวมเป็นหนึ่ง จักรพรรดิสุมาเอี๋ยนยังทรงเป็นที่รู้จักในเรื่องความฟุ่มเฟือยและความหมกมุ่นโลกีย์ โดยเฉพาะภายหลังจากการรวมแผ่นดินจีนเป็นหนึ่ง มีหลายตำนานที่เล่าขานสมรรถภาพอันเหลือเชื่อของพระองค์ในการทรงมีสัมพันธ์กับสนมนับหมื่นคน
จักรพรรดิสุมาเอี๋ยนมักถูกมองว่าเป็นผู้ปกครองที่เปี่ยมไปด้วยเมตตาปราณี แต่ก็ไร้ค่าไร้ประโยชน์ ความเมตตากรุณาของพระองค์นั้นได้บ่อนทำลายการปกครอง ในขณะที่พระองค์กลายเป็นผู้โอนอ่อนต่อตระกูลขุนนาง(世族 หรือ 士族, ชนชั้นเจ้าของที่ดินทางการเมืองหรือระบบข้าราชการจากราชวงศ์ฮั่นยันราชวงศ์ถัง) มากเกินไป การฉ้อราษฎร์บังหลวง และความสุรุยสุร่ายซึ่งสูบทรัพยากรของราษฎร์จนหมดสิ้น นอกจากนี้ เมื่อจักรพรรดิสุมาเอี๋ยนสถาปนาราชวงศ์จิ้นขึ้นมาแล้ว พระองค์ทรงวิตกกังวลในเรื่องเสถียรภาพของการปกครอง และทรงเชื่อว่ารัฐก่อนหน้าอย่างวุยก๊กต้องล่มสลาย เนื่องจากไม่อุ้มชูชุบเลี้ยงวงศ์วานว่านเครือให้มั่นคง ดังนั้นพระองค์ทรงมอบอำนาจราชศักดิ์มหาศาลให้แก่พระปิตุลา พระภาดา และพระโอรสของพระองค์ รวมไปถึงอำนาจทางทหารได้อย่างมีอิสระ สิ่งนี้ได้ทำให้ราชวงศ์จิ้นตะวันตกต้องสั่นคลอนอย่างรุนแรง เนื่องจากเหล่าบรรดาอ๋องต่างมีส่วนร่วมในสงครามกลางเมืองซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า สงครามแปดอ๋อง(八王之乱) หลังจากพระองค์สวรรคตได้ไม่นาน และการลุกฮือของห้าชนเผ่าซึ่งเกือบจะทำลายราชวงศ์จิ้นตะวันตกและบีบบังคับให้ราชวงศ์จิ้นตะวันออก ซึ่งเป็นรัฐที่รับช่วงต่อมาต้องอพยพไปยังพื้นที่ทางตอนใต้ของแม่น้ำห้วย
พระประวัติก่อนการก่อตั้งราชวงศ์จิ้น
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ในฐานะจักรพรรดิแห่งราชวงศ์จิ้น
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ชื่อศักราช
[แก้]- ไท่ฉื่อ (จีน: 泰始; พินอิน: tài shǐ) ค.ศ. 265–274
- เสียนหนิง (จีน: 咸寧; พินอิน: xián níng) ค.ศ. 275–280
- ไท่คาง (จีน: 太康; พินอิน: tài kāng) ค.ศ. 280–289
- ไท่ซี (จีน: 太熙; พินอิน: tài xī) 28 มกราคม ค.ศ. 290 – 16 พฤษภาคม ค.ศ. 290
พระราชวงศ์
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
บรรพบุรุษ
[แก้]สุมาหอง (ค.ศ. 149–219) | |||||||||||||||
สุมาอี้ (ค.ศ. 179–251) | |||||||||||||||
สุมาเจียว (ค.ศ. 211–265) | |||||||||||||||
จาง วาง | |||||||||||||||
จาง ชุนหฺวา (ค.ศ. 189–247) | |||||||||||||||
ชานชื่อ ชาวเมืองโห้ลาย | |||||||||||||||
สุมาเอี๋ยน (ค.ศ. 236–290) | |||||||||||||||
อองลอง (เสียชีวิต ค.ศ. 228) | |||||||||||||||
อองซก (ค.ศ. 195–256) | |||||||||||||||
หยางชื่อ ชาวเมืองฮองหลง | |||||||||||||||
หวาง ยฺเหวียนจี (ค.ศ. 217–268) | |||||||||||||||
หยางชื่อ | |||||||||||||||
ดูเพิ่ม
[แก้]- พระราชพงศาวลีของพระมหากษัตริย์จีน (ช่วงต้น)
- พงศาวลีของสุมาอี้
- รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊ก
- รายพระนามจักรพรรดิและพระมหากษัตริย์จีน
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ วันปิ่งอิ๋น (丙寅) ของเดือน 12 ของศักราชไท่ฉื่อ (泰始) ปีที่ 1
- ↑ บทพระราชประวัติสุมาเอี๋ยนในจิ้นชูระบุว่าจักรพรรดิสุมาเอี๋ยนสวรรคตขณะพระชนมายุ 55 พรรษา (ตามการนับอายุแบบเอเชียตะวันออก) ในวันจี๋โหยว (己酉) ของเดือน 4 ในศักราชไท่ซี (太熙) ปีที่ 1 ในรัชสมัยของพระองค์ เทียบได้กับวันที่ 16 พฤษภาคม ค.ศ. 290 ในปฏิทินกริกอเรียน เมื่อคำนวณแล้วปีประสูติของพระองค์ควรเป็นปี ค.ศ. 263[3]
อ้างอิง
[แก้]- ↑
SGZ has: "On the day renchen (September 7), the Crown Prince of Jin, Sima Yan, succeeded to his enfeoffment and inherited his rank; he assumed the Presidency of the myriad officials and had gifts and documents of appointments conferred upon him, all in conformity with ancient institutions". Chronicles of the Three Kingdoms, Achilles Fang.
- ↑ ฝาน เสฺวียนหลิงและคณะ. จิ้นชู, เล่มที่ 3, บทพระราชประวัติจักรพรรดิอู่ตี้
- ↑ ([太熙元年四月]己酉,帝崩于含章殿,时年五十五...) จิ้นชู เล่มที่ 3.
ก่อนหน้า | สุมาเอี๋ยน | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
โจฮวน วุยก๊ก |
จักรพรรดิจีน (ค.ศ. 266–290) |
จักรพรรดิจิ้นฮุ่ยตี้ |