ข้ามไปเนื้อหา

ถนนหลวง

พิกัด: 13°44′51″N 100°30′37″E / 13.747497°N 100.510172°E / 13.747497; 100.510172
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ถนนหลวง
ถนนหลวงช่วงระหว่างห้าแยกนพวงศ์กับห้าแยกพลับพลาไชย
ข้อมูลของเส้นทาง
ความยาว4.500 กิโลเมตร (2.796 ไมล์)
ประวัติ
ทางแยกที่สำคัญ
จากท่าเรือเทเวศร์ ในเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
 
ถึงถนนพระรามที่ 4 ในเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร

ถนนหลวง (อักษรโรมัน: Thanon Luang) เป็นถนนเส้นหนึ่งในกรุงเทพมหานคร เป็นถนนที่มีการจัดการเดินรถทางเดียวแบบเดียวกับถนนเยาวราช เริ่มตั้งแต่ถนนกรุงเกษมที่ห้าแยกนพวงศ์โดยเป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงป้อมปราบกับแขวงวัดเทพศิรินทร์ ถนนพลับพลาไชย (ห้าแยกพลับพลาไชย) ถนนยุคล 2 (สี่แยกโรงพยาบาลกลาง) จากนั้นตัดกับถนนวรจักร (สี่แยกวรจักร) และข้ามคลองรอบกรุง (คลองโอ่งอ่าง) เข้าสู่ท้องที่แขวงบ้านบาตร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ถนนมหาไชย (สามแยกเรือนจำ) ในท้องที่แขวงสำราญราษฎร์ เขตพระนคร

ประวัติ

[แก้]

ถนนหลวงเป็นถนนที่สร้างในปี พ.ศ. 2436 โดยพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิธาดา เสนาบดีกระทรวงโยธาธิการได้กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า ควรจะตัดถนนใหม่ระหว่างถนนเจริญกรุง ถนนบำรุงเมือง ตั้งต้นตั้งแต่ป้อมเสือทยานไปบรรจบถนนริมคลองผดุงกรุงเกษมโดยข้ามคลองคูพระนคร ตรงไปออกถนนหน้าวัดเทพศิรินทราวาส ถึงสถานีรถไฟหัวลำโพง ตั้งชื่อว่าถนนหลวง อันมีควาหมายว่า "ถนนของพระเจ้าแผ่นดิน" ทรงให้เหตุผลในการตัดถนนสายนี้ว่า เพื่อสำหรับผู้ที่จะไปขึ้นรถไฟ เพื่อเดินทางไปนครราชสีมาได้สะดวก และเป็นที่งดงามและแสดงถึงความเจริญของบ้านเมืองด้วย โดยสร้างเป็นถนนสำหรับคนเดินและรถม้า ระหว่างการก่อสร้างถนนหลวงใน พ.ศ. 2440 ปรากฏว่ามีผู้ขัดขวางการสร้างถนน โดยทำร้ายกุลีชาวจีนที่ก่อสร้างจนไม่สามารถก่อสร้างได้ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิธาดา เสนาบดีกระทรวงโยธาธิการได้มีหนังสือกราบทูลพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นนเรศร์วรฤทธิ์ เสนาบดีกระทรวงนครบาล โดยทรงต่อว่ากระทรวงนครบาลซึ่งส่งมอบที่ดินให้กระทรวงโยธาธิการ เข้าใจว่าทรงจัดการเรื่องการเวนคืนที่ดินเรียบร้อยแล้ว และถือว่าเป็นหน้าที่ของกระทรวงนครบาลที่จะป้องกันระงับการทะเลาะวิวาท แต่ปรากฏว่ากระทรวงนครบาลไม่ได้อารักขาการสร้างถนน ทำให้เกิดเหตุขึ้นและปล่อยให้เรื่องล่าช้าจนหมดเขตฟ้องร้อง ต้องจ่ายพระราชทรัพย์ทำขวัญกุลี

ในการก่อสร้างถนนหลวงนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างสะพานนพวงศ์ขึ้นด้วย โดยมีพระราชปรารภให้เปิดสะพานทันวันเฉลิมพระชนมพรรษาในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2440 ซึ่งเป็นวันที่มีพระชนมพรรษาเท่าพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส (พระองค์เจ้านพวงศ์) จึงต้องเร่งดำเนินการสร้างถนนหลวง ให้เสร็จทันเวลาที่จะเสด็จพระราชดำเนินเปิดสะพานนพวงศ์

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  • pongsakornlovic (2011-02-15). "CHN_232_ถนนหลวง". ชื่อนั้น...สำคัญไฉน ?.
  • "เรื่องนี้มีอยู่ว่า : ถนนหลวง". ทีเอ็นเอ็น24. 2015-07-25.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

13°44′51″N 100°30′37″E / 13.747497°N 100.510172°E / 13.747497; 100.510172